วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

มาชูปิกชู (Machu Picchu)



1.ที่ตั้ง ภูมิประเทศ





อยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองกุสโก(Cusco) เมืองมรดกโลกของยูเนสโก อดีตเมืองหลวงของอินคา ซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลางการปกครอง การเมืองและการทหาร ประมาณ 70 กิโลเมตร Machu Picchu อยู่ในแถบเซาเธิร์นเซียร์ราส์ ประเทศเปรู ที่พิกัด latitude 13º7' South และ longitude 72035' West of the Greenwich Meridian ตั้งอยู่บนที่ราบสูงแอนดีส ระหว่างภูเขา Machu Picchu กับ Huayna Picchu ในเขตของป่าอะเมซอน มีแม่น้ำอารูบัน(Urubamba) อยู่เบื้องล่าง ภูมิประเทศรายล้อมด้วยหน้าผาสูงราว 600 เมตร ด้วยภูมิประเทศที่ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชัน ทำให้กลายเป็นเกราะป้องกันตามธรรมชาติของผู้ที่จะรุกรานเมืองแห่งนี้ และด้วยภูมิประเทศที่ยากต่อการเข้าถึง



        2.ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
คาดกันว่า มาชูปิกชู ก่อสร้างขึ้นในยุคที่อินคารุ่งเรือง ราวปี ค.ศ. 1440-1450 (พ.ศ.1993) โดยจักรพรรดิ์ปาชากูตี(Pachacute) ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอินคา ชื่อของ Machu Picchu นั้นความหมายถึงภูเขาโบราณ (old mountain) มีการสันนิษฐานกันถึงช่วงเวลาและเหตุผลในการสร้าง บ้างก็ว่า Machu Picchu ไม่ใช่ชุมชนที่อยู่อาศัยหรือเมือง แต่น่าจะเป็นการก่อสร้างเพื่อพักอาศัยของผู้มีอันจะกินของชาวอินคาในยุคนั้น บ้างก็ว่านี่คือศาสนสถานหรืออาจเป็นสุสานอันยิ่งใหญ่ของผู้สร้างอาณาจักอินคา สิ่งก่อสร้างต่างๆใน Machu Picchu ทั้งอาคารที่อยู่อาศัย อุโมงค์ อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทานการปล่อยน้ำตามคลองเล็กๆเพื่อการเกษตร รูปแบบการทำเกษตรหรือการทำนาเกลือที่เก่าแก่แบบขั้นบันไดหอคอยสำหรับการเฝ้ามองดูผู้รุกราน การสร้างถนน สิ่งก่อสร้างตามไหล่เขา ที่ไล่ระดับเป็นขั้นๆ ซากกำแพงหินแกรนิตสีขาว ร่องรอยของสถาปัตยกรรมทั้งหลาย นอกจากสิ่งเหล่านี้จะดูสวยงามแล้ว ยังสะท้อนถึงความหลักแหลมทางเทคนิควิทยาการก่อสร้างของชาวอินคาในยุคนั้นได้อย่างดี
จากการศึกษาของ Bingham ทำให้เชื่อว่าเมืองนี้น่าจะมีผู้อยู่ไม่กี่ร้อยคน และนี่คือพระราชฐาน ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประทับพักผ่อนในหน้าร้อนของ Pachacute กษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรอินคา ความคิดที่ว่า Machu Picchu เป็นพระราชฐานสำหรับพักผ่อนพระอิริยาบถของกษัตริย์อินคาของ Bingham สอดคล้องกับ Richard Burger จากการศึกษาหลักฐานที่ John Howland Rowe ได้พบเอกสารสำคัญเมื่อ 15 ปีก่อน เอกสารนั้นระบุว่ามีการฟ้องร้องของพระบรมวงศานุวงศ์ของกษัตริย์ Pachacute เพื่อขอกรรมสิทธิ์เหนือ Machu Picchu คืนจากรัฐบาลเปรู นอกจากนี้ นักโบราณคดียังมีความเห็นว่า Machu Picchu น่าจะแบ่งเป็น 3 เขต โดยเขตหนึ่งเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ มีวิหารที่สร้างเพื่ออุทิศแด่อินติ สุริยเทพที่ชาวอินคาบูชา เขตนักบวชและผู้สูงศักดิ์ และสุดท้ายเป็นเขตของสามัญชน
นอกจากนี้ในบรรดาโครงกระดูก 175 ชุดที่ขุดได้ในบริเวณ Machu Picchu นั้น มีถึง 150 ชุดที่เป็นของผู้หญิง ทำให้ Bingham เชื่อว่า เมื่อเกิดการสู้รับกับสเปน ชาวอินคาได้นำตัวเหล่าสตรีมาหลบซ่อน ณ ที่แห่งนี้ เพื่อความปลอดภัยและให้พวกนางได้สวดมนต์ภาวนาต่อเทพเจ้าเพื่อช่วยปกป้องอินคาจากผู้รุกราน แต่เมื่อคำสวดอ้อนวอนไม่เป็นผล เหล่าสตรีทั้งหลายจึงได้หลบซ่อนโดยใช้ชีวิตอยู่ ณ เมืองลี้ลับแห่งนี้ต่อไปนานราว 40 ปี จากโลกนี้ไป นอกจากนี้ จากการศึกษาข้อมูลต่างๆ รวมทั้งโครงกระดูก ทำให้ Burger กล่าวว่า ที่นี่เคยมีเหล่าจิตกรและศิลปินหลายคนเข้ามาพักอาศัย และจากโครงสร้างของกะโหลกศีรษะทำให้รู้ว่าบรรดาช่างประจำราชสำนักของอินคามีหลายเผ่าพันธุ์ อีกทั้งพบว่าสัดส่วนของสตรีต่อบุรุษมีในอัตราส่วน 3:2 และในบรรดาสตรีเหล่านั้นหลายคนมีร่องรอยการตั้งครรภ์ และเหตุว่าทำไม เมืองแห่งนี้จึงกลายเป็นเมืองร้างนั้นก็เพราะว่า ด้วยความที่เมืองนี้ตั้งอยู่บนชะงอนเขาสูง จากในรูปจะเห็นได้เลยว่าสูงเสียดฟ้าเพียงใด การเดินทางที่แสนทุรกันดาร งบประมาณการก่อสร้างที่สูง มันจึงไม่ใช่เมืองที่เหมาะแก่การลงหลักปักฐานในระยะยาวแต่ก็ด้วยความลี้ลับและแสนทุรกันดารในการเดินทางขึ้นไปยังเมืองในเมฆหมอกทำให้ Machu Picchu ไม่ถูกผู้รุกรานอย่างสเปนทำร้าย โบราณสถานแห่งนี้จึงคงความสมบูรณ์ไว้ได้อย่างมาก จะเพียงก็แค่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลาบ้างเท่านั้น

ไฮแรม บิงแฮม (Hiram Bingham )นักสำรวจ นักวิชาการ และ วุฒิสมาชิกชาวอเมริกัน ผลงานที่โดดเด่นคือ การค้นพบที่ตั้งถิ่นฐานของชาวอินคา ในเมืองมาชูปิกชู เมื่อ พ.ศ. 2454


การล่มสลายของอินคา

ในยุคล่าอาณานิคมชาวสเปน (Spanish) ได้เดินทางจากปานามาเพื่อสำรวจดินแดนทางใต้ และค้นพบจักรวรรดิอินคาโดยการนำของนายพล ฟรานโก ปิซาโร (Francisco Pizarro) การปิดฉากของอาณาจักรอินคาเกิดขึ้น ในปี ค.ศ. 1532 หลังจากที่ Pizarro ได้มาสำรวจดินแดนแห่งนี้มาแล้ว 2 ครั้ง และด้วยกำลังทหารไม่ถึง 200 คน ดูเหมือนไม่มากมายนักเมื่อเทียบกับเหล่านักรบอินคาราว 6,000 คน แต่ทว่าชาวอินคาในเวลานั้นกำลังอ่อนแอทั้งจากการระบาดของโรคฝีดาษ และจากสงครามแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างอวสการ์กับอาตาอวลปาที่เพิ่งจบลง และที่ย่ำแย่ที่สุดคือ อาวุธและยุทธวิธีในการรบที่ล้าหลังเหล่าผู้บุกรุกอย่างมาก นี่เองที่ทำให้กองกำลังจากสเปนเพียงน้อยนิด จึงสามารถมีชัยเหนือชาวอินคาได้โดยง่าย สเปนได้สังหารจักพรรดิ อะตาฮวลปา ผู้ที่กำลังจะเข้าพิธีสถาปนาเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 6 หลังจากนั้น ชาวสเปนได้เข้ามามีอิทธิพลและบงการการเมืองการปกครองของชาวอินคาเรื่อยมา แม้จะมีความพยายามกอบกู้เอกราชจากบรรดาเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์อินคารุ่นต่อๆมา แต่ไม่ว่าจะลุกขึ้นสู้สักกี่ครั้งก็ไม่สามารถทวงคืนอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของตนคืนได้ จนกระทั่งถึงจักรพรรดิองค์สุดท้ายคือโอรสองค์ที่ 3 ของจักรพรรดิแมนโคอินคา ทรงพระนามว่า ทูปาอะมารู ได้ถูกทหารสเปนปลงพระชนม์ หลังจากนั้นสเปนก็ได้ยึดครองอินคาอย่างเบ็ดเสร็จ ท้ายสุดจักรวรรดิอินคา (Inca Empire ) ที่เคยรุ่งเรืองมานานนับพันๆปีก็ล่มสลายไปในปี ค.ศ. 1572

3.ผู้สร้าง อายุสมัย
โดย จักรพรรดิ์ปาชากูตี (Pachacute) ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอินคา ราวปี ค.ศ. 1440-1450 (พ.ศ.1993)

4.รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
มีการสันนิษฐานว่า Machu Picchu ไม่ใช่ชุมชนที่อยู่อาศัยหรือเมือง แต่น่าจะเป็นการก่อสร้างเพื่อพักอาศัยของผู้มีอันจะกินของชาวอินคาในยุคนั้น บ้างก็ว่านี่คือศาสนสถานหรืออาจเป็นสุสานอันยิ่งใหญ่ของผู้สร้างอาณาจักอินคา สิ่งก่อสร้างต่างๆใน Machu Picchu ทั้งอาคารที่อยู่อาศัย อุโมงค์ อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทานการปล่อยน้ำตามคลองเล็กๆเพื่อการเกษตร รูปแบบการทำเกษตรหรือการทำนาเกลือที่เก่าแก่แบบขั้นบันไดหอคอยสำหรับการเฝ้ามองดูผู้รุกราน การสร้างถนน สิ่งก่อสร้างตามไหล่เขา ที่ไล่ระดับเป็นขั้นๆ ซากกำแพงหินแกรนิตสีขาว ร่องรอยของสถาปัตยกรรมทั้งหลาย นอกจากสิ่งเหล่านี้จะดูสวยงามแล้ว ยังสะท้อนถึงความหลักแหลมทางเทคนิควิทยาการก่อสร้างของชาวอินคาในยุคนั้นได้อย่างดี

5.แหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้เคียง





กุซโก้ อดีตนครหลวงแห่งจักรวรรดิอินคา ที่นี่เมื่อกว่า 5 ศตวรรษก่อน เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจและการปกครองที่แผ่ อิทธิพลครอบคลุมฝั่งตะวันตกในทวีปอเมริกาใต้ เกือบทั้งหมด ก่อนจะตกไปอยู่ในมือนักล่าทองคำ อย่างพวกสเปน แล้วกลายเป็นเมืองขึ้นไปในที่สุด ชมความเหลื่อมซ้อนทางประวัติศาสตร์ของสองอารยธรรม ทั้งจากสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิต ซึ่งยังปรากฏเด่นชัดอยู่กระทั่งทุกวันนี้  




เอล วาเญ ซากราโด้ หรือ หุบเขาศักดิ์สิทธิ์ แห่งอูรูบัมบ้า ระหว่างทางแวะจุดชมวิว ชมความกว้างไกลของภูมิประเทศแอ่งหุบเขาศักดิ์สิทธิ์อันงดงามมหัศจรรย์และท้องทุ่ง ไร่นาที่ทอดตัวราวผืนพรมห่มภูเขา

โอลันเตย์ตัมโบ ( Ollantaytambo ) เมืองที่มีเสน่ห์และเต็มไปด้วย บรรยากาศแบบอินคาดั้งเดิม ชมคูคลองส่งน้ำสมัยโบราณ ถนนปูด้วยหินและป้อมโอยันเตย์ตัมโบ ปราการศิลาสร้างจากหินแกรนิตสีชมพู ตั้งอยู่เหนือตัวเมือง ประกอบด้วยหมู่วิหารและหอปราการคู่ค่ายที่ชวนพิศวงอัศจรรย์ใจยิ่งกว่า ชาวอินคา เรียงหินเรียงศิลาสร้างป้อมแห่งนี้ขึ้นได้อย่างไรด้วยอาศัยวิทยาการสมัยเมื่อกว่าห้าร้อยปีก่อน


ป้อมซัคเซย์ฮัวมัว ( Sacsayhuaman )เพื่อร่วมเทศกาลอินติไรย์มิ งานประเพณีบูชาตอบแทนคุณ “สุริยเทพ อินติ” ซึ่งจัดให้มีขึ้นเป็นประจำปีฤดูหนาว ในวันที่ดวงอาทิตย์และโลก โคจรอยู่ห่างกันมากที่สุด ภายในงานมีขบวนแห่ พิธีการบวงสรวงบูชายัญ ฯลฯ โดยชาวอินคาพื้นเมืองในชุดเครื่องแต่งกายดั้งเดิมประจำเผ่า ท่ามกลางป้อมโบราณ หล่อหลอมบรรยากาศราวกับนั่งเครื่องย้อนมิติกาลเวลากลับสู่อดีตเมื่อกว่าห้าร้อยปีก่อน 


ปูโน่ เมืองใกล้กับทะเลสาบ ติติกากา และเคยเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ ติติกากา ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์และเป็นจุดกำเนิดอารยธรรมอินคา ตามตำนาน เยือน “เกาะลอยน้ำ” อูรอส หรือรู้จักกันในฐานะ “เมืองทะเลสาบ” เป็นเกาะที่เกิดขึ้นจากต้นหญ้าน้ำชนิดหนึ่ง เรียกว่า “โตโตร่า” จนดูเหมือนทั้งเกาะมีเพียงต้นหญ้าน้ำ ซึ่งชาวอูรอส ชาวพื้นเมืองโบราณ ได้นำมาใช้สร้างบ้านเรือ และเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอีกหลายอย่าง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของผู้คนที่นี่

เกาะตาฆีเล ( Taquile ) ชุมชนที่มีอัธยาศัยเอื้ออารีอย่างอบอุ่นต่อนักท่องเที่ยว ซึ่งยังรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งยังรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิม แต่งกายด้วยสีสันอาภรดังเช่นอดีต และ มีชื่อเสียง ในเรื่องฝีมืองานช่างเชิงศิลป์สืบเนื่องมานานนับศตวรรษ 


เมืองนาซก้า นั่งเครื่องบินเล็ก บินชม “ลายเส้นปริศนาแห่ง นาซก้า” จากทางอากาศ (ใช้เวลาประมาณ 45 นาที) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าลายเล้นรูปทรงต่างๆ บนที่ราบนาซก้าอันแห้งแล้งที่เต็มไปด้วยกรวดหินฝุ่นทราย มีอายุประมาณ 2,000 ปี ซึ่งโดยปกติจะสังเกตหรือมองไม่เห็นรูปทรงของลายเส้นปริศนาเหล่านี้จากบนระดับพื้นดิน แต่ภาพต่างๆ จะเด่นชัดหากมองลงมาจากทางอากาศ จึงเกิดทฤษฎีเกี่ยวกับ “ลายเส้นนาซก้า” มามายหลายทฤษฎี กระทั่งบ้างก็อ้างว่า เป็นสัญลักษณ์สำหรับสื่อสารกับผู้มาเยือนจากต่างดาว


ปารากัส คาบสมุทรชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตอนใต้ของเปรู ซึ่งมีลักษณะเป็นทะเลทราย และเป็นเขตวัฒนธรรมเก่าแก่อีกแห่งของประเทศนี้เยือนเกาะ บาเญตาส์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างฝั่ง เป็นถิ่นอาศัยทางธรรมชาติของฝูงนกและสิงโตทะเลที่น่าตื่นตา 


ลิม่า เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมชาวอินเดียนพื้นเมืองดั้งเดิม กับรูปแบบที่พวกสเปนนำมาจากยุโรป

ผ้าขนสัตว์ alpaca คุณอาจจะอยากจะซื้อผ้าคลุมไหล่ขนสัตว์ alpaca เพื่อให้ตัวเองในขณะที่อบอุ่นของเปรูเดิน Inca Trail นอกจากนี้ยังทำของที่ระลึกยอดเยี่ยมสำหรับครอบครัวและเพื่อนฝูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเขาจะทำจากขน alpaca ลูกซึ่งเป็นนุ่มนวลขึ้นเล็กน้อยและเหมือนหนามแทงน้อย alpaca ผสมกับอุณาเป็นตัวเลือกที่ถูกกว่าและ ponchos แปลกใจเลยที่ซื้อร่วมกัน ไม่ว่าคุณจะสิ่งเล็ก ๆ น้อยออกมีกว่าเสื้อปอนโช Incan bedecked, เข็มขัด Cusco ทำจากขนสัตว์ที่มีลวดลายเรขาคณิต alpaca เป็นชิ้นงานจริงของสะสมและเพิ่มสัมผัสสีสันไปยังตู้เสื้อผ้าขาวดำมากที่สุด 

6.ของที่ระลึก


-ผ้าทอพื้นเมือง

-เครื่องประดับ


-เปลญวน 
เปลญวนที่ทำด้วยผ้าฝ้ายในประเทศที่แข็งแกร่งและเส้นใยพืชจากป่าฝนอเมซอน 


สมาชิก
1.นางสาวอรอุมา ราชานิกรณ์ 520105030012
2.นางสาวจันทรา ฉันท์ชัยเดช 520105030298
3.นางสาวณัฐธิดา มลกุล 520105030302
4.นายนพฌาณ พรมประสิทธิ์ 520105030315
5.นางสาวพวงพรรณ รัตนวงศ์ 520105030320

ที่มา...http://www.newgenstravel.com/webboard/wb_show.asp?Lang=&id=2600&ipagenum=2&xpagenum=21&idCat=4
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B9
http://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=229





วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะแบบบารอค





ศิลปกรรมบารอคมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศอิตาลี จากนั้นจึงกระจายออกไปทั่วอิตาลี แล้วขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศยุโรป มีการปฏิวัติทางศิลปกรรมในช่วงระหว่างค.ศ. 1550 - 1750 แต่มีความเจริญสูงสุดอยู่ระหว่างค.ศ. 1680 - 1730 ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะในช่วงเวลานี้ว่า High - Baroque
          ลักษณะเด่นของรูปแบบสถาปัตยกรรมบารอคโดยรวมคือ ลักษณะรูปแบบที่พัฒนาสืบต่อจากสถาปัตยกรรมเรอเนสซองส์ ด้วยการเพิ่มเติมโครงสร้างส่วนประกอบ และรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมเข้าไปอีก ลักษณะรูปแบบจากความเรียบง่ายมั่นคง มาสู่ความแพรวพราวและดูเคลื่อนไหว มีการใช้โครงสร้างของเส้นโค้งและเส้นคด แสดงความเคลื่อนไหวมากขึ้น และส่วนประกอบมีความตื้นลึกหลายชั้น ฝาผนังแต่ละส่วนมีการเล่นมิติในพื้นที่ส่วนย่อย
          ผลงานประติมากรรมบารอคนั้นมักจะแหวกกรอบสถาปัตยกรรม โดยถูกจัดวางให้โดดเด่นเป็นอิสระในตนเอง เพื่อให้บังเกิดผลทางการรับรู้ จึงมีการใช้หินอ่อน หินสี หินสำริด รวมทั้งการติดกระจกสี ประกอบกับการสร้างฉากให้ประติมากรรมเกิดมิติและการลวงตา เพื่อเป็นการเพิ่มผลทางการมองเห็นให้เกิดความตรึงใจ โดนเฉพาะจิตรกรรม ลักษณะรูปแบบงานจิตรกรรมนั้นจะเป็นการเน้นย้ำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแสง เงา เพื่อให้ดึงดูดความสนใจ และความประทับใจเมื่อเกิดการปะทะรับรู้ทางการมองเห็นอย่างฉับพลัน ผลงานที่เป็นภาพคนมักจะแสดงอารมณ์ความรู้สึกโลดแล่นราวคนจริง แสดงความโลดโผนของลีลาท่าทางมากกว่าการสื่อเพียงความงดงามของรูปร่างรูปทรง และความกลมกลืนของทัศนธาตุ และลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ ภาพคนนั้นจะแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่างหรูหรา มีรอยพับอ่อนช้อยและปกคลุมร่วงกายส่วนใหญ่ไว้ด้วยรอยยับดังกล่าว ส่วนฉากหลังจะแสดงถึงทัศนียภาพอันกว้างไกล 
     ศิลปะแบบบารอค เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐต่างๆ ในยุโรปมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและมีความมั่งคั่งทางการเมือง เป็นผลให้พระราชวงศ์ ขุนนาง และพ่อค้ามีความพร้อมที่จะอุปถัมภ์การสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินแขนงต่างๆ ได้อย่างเต็มที่
            
    งานสร้างสรรค์ศิลปะแบบบารอค
          1.งานจิตรกรรม ส่วนใหญ่ยังคงรับรูปแบบ และเทคนิคจากสมัยเรเนสซองส์ แต่ได้พัฒนาฝีมือและเทคนิคการผสมสีที่วิจิตงดงามยิ่งขึ้น นิยมใช้สีสดและฉูดฉาด ภาพวาดมักปรากฎตามวัด วัง และคฤหาสน์ของชนชั้นกลางผู้มั่งคั่ง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ที่หรูหราสุขสบายของเจ้านายและเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับคริสต์ศาสนา
          2.งานสถาปัตยกรรม แสดงออกถึงความใหญ่โตหรูหรา และการประดับประดาที่ฟุ่มเฟือย โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้งานก่อสร้างมากขึ้น ผลงานชิ้นสำคัญของศิลปะแบบบารอค คือ พระราชวังแวร์ซายส์ ( Versailles ) ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส    
          3.ศิลปะด้านดนตร มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ นักดนตรีสำคัญ คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่
          4. งานด้านวรรณกรรม ในสมัยคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป มีผลงานชิ้นเอกของนักประพันธ์ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเกิดขึ้นมากมาย ที่เด่นคือ งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค ( John Lock) และผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ ( Moliere) เป็นต้น
  
 พระราชวังแวร์ซายส์ เป็นพระราชวังที่สวยงามมากสร้างขึ้นโดย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส มีนายช่างสถาปนิก อัลเดรด เลอ นอสเตอร์ เป็นผู้ออกแบบ ลงมือสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) สร้างอยู่นาน เวลา 30 ปี สิ้นเงินค่าสร้าง 500,000,000 ฟรังก์ ใช้คนงาน 30,000 คน ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างและศิลปกรรมก่อสร้างที่งดงามมาก




        ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ เช่น มีห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ห้องทรงพระอักษร ห้องโถง ห้องออกว่าราชการ ฯลฯ แต่ละห้องมีเครื่องประดับมีค่ามากมาย ทั้งวัตถุ และ ภาพเขียนศิลปะที่มีชื่อเสียง ห้องที่มีชื่อที่สุด คือ ห้องกระจกที่เคยใช้ลงนาม เซ็นสัญญาสงบศึกระหว่างสัมพันธมิตร กับเยอรมัน ในคราวมสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นที่ใช้ลงนามในเมื่อเยอรมันบุกตีชนะฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ในการทำสงครามใหญ่ทุกครั้งฝรั่งเศส จึงต้องประกาศให้ปารีสเป็นเมืองปลอดทหารคือ ไม่มีทหารตั้งอยู่ ไม่มีการต่อสู้ใด ๆทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อรักษาไม่ให้พระราชวังแห่งนี้ ต้องได้รับความเสียหายจากการโจมตี ของข้าศึกไม่ว่าโดยทางใด ทุก ๆ ปีจะมีนัก ปจจุบันเป็นสถาปัตยกรรมมีค่าที่สุดของฝรั่งเศส และโลก ที่มีนักท่องเที่ยวไปชมความงามไม่น้อยกว่า 1,000,000 คน ต่อปี 



วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว


ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว


ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว[1] (ฝรั่งเศสJean-Baptiste Pallegoix) หรือที่รู้จักในนามพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์[2] เป็นบาทหลวงสังกัดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก (apostolic vicar of Eastern Siam) และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุส (titular bishop of Mallos/Mallus) ท่านได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย และนอกจากนี้ท่านยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นชื่อ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท โดยมีภาษาทั้งสี่ที่ว่านี้คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน


ประวัติ

พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2348 ที่ เมืองโกต-ดอร์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อท่านอายุได้ 23 ปี ท่านก็ได้ตัดสินใจบวชเป็นบาทหลวง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2371 ที่เซมินารีของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส จากนั้นท่านก็ได้รับหน้าที่ให้ไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ณ ประเทศไทย และท่านได้ออกเดินทางเมื่อวันที่31 สิงหาคม พ.ศ. 2371 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2372 ในปี พ.ศ. 2381 ท่านได้รับตำแหน่งอธิการโบสถ์คอนเซ็ปชัญ ท่านได้ปรับปรุงโบสถ์แห่งนี้ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2217 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วจากถูกทิ้งร้างมานาน[3]แล้วย้ายไปอยู่ที่โบสถ์อัสสัมชัญในปี พ.ศ. 2381
จนปี พ.ศ. 2378 มุขนายก ฌ็อง-ปอล-อีแลร์-มีแชล กูร์เวอซี (Jean-Paul-Hilaire-Michel Courvezy) ประมุขมิสซังสยามในขณะนั้นได้แต่งตั้งท่านเป็นอุปมุขนายก (vicar general) แล้วให้ดูแลดินแดนสยามในช่วงที่ท่านไปดูแลมิสซังที่สิงคโปร์[4] เมื่อกลับมาก็ได้รับอนุญาตจากสันตะสำนักให้อภิเษกท่านปาเลอกัวเป็นมุขนายกรองประจำมิสซังสยาม(Coadjutor Vicar Apostolic of Siam) ในปี พ.ศ. 2381[4] พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอส[5] เมื่อมีการแบ่งมิสซังสยามออกเป็นสองมิสซัง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออกเป็นท่านแรก ในวันที่ 10 ก.ย. พ.ศ. 2384[5]
ท่านได้เรียนภาษาไทยและภาษาบาลี มีความรู้ในภาษาทั้งสองเป็นอย่างดีจนสามารถแต่งหนังสือได้หลายเล่ม นอกจากนั้นท่านมีความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ เคมีและดาราศาสตร์ มีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูปและชุบโลหะ บุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้กับท่าน ท่านได้สร้างตึกทำเป็นโรงพิมพ์ภายในโบสถ์คอนเซ็ปชั่น จัดพิมพ์หนังสือสวด[6]
สังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2397 ช่วงต้นรัชกาลที่ 4 หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยนานหลายปี และเป็นผู้นำพระราชสาส์นจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปถวาย สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 ขณะพำนักอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ได้ตีพิมพ์หนังสือขึ้น 3 เล่ม คือ
  • เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam)
  • สัพะ พะจะนะ พาสา ไท (พจนานุกรมสี่ภาษา)
  • Grammatica linguoe Thai (ไวยากรณ์ภาษาไทย) [3]
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2388[7][8] โดยได้สั่งบาทหลวงอัลบรันด์ซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศสฝากมากับบาทหลวงลาร์นอดี (L' abbe Larnaudie) เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2388 [9]
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ใช้ชีวิตอยู่ที่ฝรั่งเศสนาน 3 ปี จึงเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2399 และถึงแก่มรณภาพที่โบสถ์อัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2405 อายุ 57 ปี ศพฝังอยู่ในโบสถ์คอนเซ็ปชัญ ได้มีขบวนแห่จากหน้าโบสถ์อัสสัมชัญไปยังหน้าโบสถ์คอนเซ็ปชั่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระประสงค์ให้พิธีศพเป็นไปอย่างสง่างามที่สุด จึงพระราชทานเรือหลวงสองลำเพื่อนำขบวนโดยบรรทุกหีบศพ ขบวนแห่นั้นประกอบไปด้วยเรือดนตรี (ดนตรีไทยจากค่ายคริสตัง) เรือของคริสตัง ข้าราชการไทย และทูตต่างประเทศ[6]